ในกระบวนการสืบพันธุ์ของมนุษย์นั้น กฎของธรรมชาติกำหนดให้บุตรที่จะเกิดมานั้นมีดีเอ็นเอ (DNA) มากจากพ่อและแม่อย่างละครึ่ง ยกเว้นดีเอ็นเอไมโทคอนเดรีย (mitochondrial DNA) ที่จะมาจากแม่เท่านั้น
ไมโทคอนเดรียเป็นเหมือนอวัยวะขนาดเล็กของเซลล์ ทำหน้าที่ผลิตพลังงานและมีสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอเป็นของตัวเองโดยเฉพาะ อย่างไรก็ดี หากมีการกลายพันธุ์ที่เป็นอันตรายในไมโทคอนเดรีย ก็อาจส่งผลให้ลูกที่จะเกิดมาได้รับโรคทางพันธุกรรมที่สืบทอดได้ (Inherited Disease) ซึ่งหลายโรคในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาได้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรงฝาก
ไมโทคอนเดรียเป็นเหมือนอวัยวะขนาดเล็กของเซลล์ ทำหน้าที่ผลิตพลังงานและมีสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอเป็นของตัวเองโดยเฉพาะ อย่างไรก็ดี หากมีการกลายพันธุ์ที่เป็นอันตรายในไมโทคอนเดรีย ก็อาจส่งผลให้ลูกที่จะเกิดมาได้รับโรคทางพันธุกรรมที่สืบทอดได้ (Inherited Disease) ซึ่งหลายโรคในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาได้
เมื่อทำงานอย่างถูกต้อง ไมโทคอนเดรียจะให้พลังงานที่สำคัญแก่เซลล์ที่ประกอบเป็นอวัยวะของเรา การกลายพันธุ์ที่ทำลายไมโทคอนเดรียมักจะส่งผลต่อเนื้อเยื่อที่ใช้พลังงานมากที่สุด เช่น สมอง หัวใจ กล้ามเนื้อ และตับ
ทารกบางคนอาจเกิดมาแข็งแรงเพราะพวกเขาได้รับมรดกของไมโทคอนเดรียที่กลายพันธุ์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่คนอื่นอาจได้รับดีเอ็นเออันตรายและพัฒนาโรคที่รุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้ โดยเฉลี่ยแล้ว ทารกประมาณ 1 ใน 6,000 คนจะได้รับผลกระทบจากความผิดปกติของไมโทคอนเดรีย
นั่นทำให้ผู้เชี่ยวชาญได้พัฒนาเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ที่เรียกว่า การบริจาคไมโทคอนเดรีย (Mitochondrial Donation Treatment; MDT) ขึ้นมา ซึ่งเป็นวิธีทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) แบบหนึ่งที่ป้องกันไม่ให้เด็กได้รับโรคทางพันธุกรรมที่สืบทอดได้จากพ่อและแม่ โดยวิธีนี้จะสร้างเด็กที่เกิดจาก “ดีเอ็นเอของคน 3 คน”
เจมส์ เว็บบ์ เผยภาพ “แถบฝุ่น” สวยงาม รอบดาวฤกษ์ “โฟมาเลาต์”
นักวิทย์พบอีกสาเหตุสำคัญ ทำธารน้ำแข็งละลายเร็วกว่าที่คาด
อย.สหรัฐอนุมัติใช้วัคซีนป้องกันไวรัส RSV ตัวแรกของโลก
ล่าสุดมีรายงานว่า สหราชอาณาจักรประสบความสำเร็จในการให้กำเนิดเด็กด้วยวิธี MDT รายแรกของประเทศได้สำเร็จแล้ว
เทคนิค MDT วิธีการของมันคือ ใช้เนื้อเยื่อจากไข่ของผู้บริจาคหญิงที่มีสุขภาพดี เพื่อนำมาสร้างตัวอ่อนผสมเทียมที่ปราศจากการกลายพันธุ์ที่อาจก่อโรคจากดีเอ็นของแม่ที่มีแนวโน้มจะส่งต่อไปยังลูกได้
นั่นทำให้ตัวอ่อนนี้จะเกิดจากเซลล์สเปิร์มและเซลล์ไข่จากพ่อแม่ผู้ให้กำเนิด รวมกับไมโทคอนเดรียจากไข่ของผู้บริจาค ทารกที่จะเกิดมาจึงมีดีเอ็นจากพ่อแม่ตามปกติ บวกกับสารพันธุกรรมจำนวนเล็กน้อยประมาณ 37 ยีนจากผู้บริจาค
รวมแล้วเด็กที่เกิดมาจึงมีดีเอ็นเอของคน 3 คนนั่นเอง แม้ว่าสัดส่วนดีเอ็นมากกว่า 99.8% ในทารกจะมาจากพ่อแม่และเป็นของผู้บริจาคเพียง 0.2% ก็ตาม
การวิจัยเกี่ยวกับ MDT เป็นเทคโนโลยีที่ผู้เชี่ยวชาญในสหราชอาณาจักรเป็นผู้บุกเบิกโดยแพทย์ที่ศูนย์เจริญพันธุ์นิวคาสเซิล การศึกษาเหล่านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้หญิงที่ไมโทคอนเดรียกลายพันธุ์สามารถมีลูกได้โดยไม่เสี่ยงต่อการถ่ายทอดความผิดปกติทางพันธุกรรม
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำเด็กหลอดแก้วแบบ MDT ทำให้ทางการสหราชอาณาจักรเปลี่ยนกฎหมายในปี 2015 เพื่ออนุญาตให้สามารถให้กำเนิดบุตรด้วยวิธีการดังกล่าวได้
ตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นมา ศูนย์เจริญพันธุ์นิวคาสเซิลกลายเป็นศูนย์ระดับประเทศแห่งแรกและแห่งเดียวในสหราชอาณาจักรที่ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินการใช้เทคนิค MDT ได้ โดยเคสแรกได้รับการอนุมัติในปี 2018
การอนุมัติจะมีการพิจารณาเป็นรายกรณีโดยหน่วยงานเจริญพันธุ์และคัพภวิทยาแห่งสหราชอาณาจักร (HFEA) ซึ่งไฟเขียวในมีการใช้เทคนิคนี้ในการสร้างเด็กแล้วไม่ต่ำกว่า 30 ราย
ศูนย์เจริญพันธุ์นิวคาสเซิลไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดของเด็กที่คลอดจากโปรแกรม MDT เพื่อเป็นการรักษาความลับของผู้ใช้บริการ แต่ยืนยันว่าปัจจุบันมีทารกจำนวนไม่ถึง 5 คนในสหราชอาณาจักรที่เกิดด้วยเทคนิค MDT
อย่างก็ตาม เทคนิคนี้ยังไมได้ทำให้ความเสี่ยงของการส่งผ่านดีเอ็นเอไมโทคอนเดรียที่เป็นปัญหาเป็นศูนย์เสียทีเดียว การวิจัยเมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่า ในบางกรณี ไมโทคอนเดรียที่ผิดปกติจำนวนเล็กน้อยได้ถูกส่งผ่านจากเซลล์ไข่ของแม่ไปยังเซลล์ไข่ของผู้บริจาค และเพิ่มจำนวนขึ้นได้เมื่อทารกอยู่ในครรภ์ และอาจนำไปสู่โรคในเด็กได้
กระนั้น เทคนิค MDT นี้ก็ถือเป็นความหวังของแม่หลายคนที่ต้องการมีบุตรแต่เกรงว่าลูกที่เกิดมาจะได้รับดีเอ็นเอที่มีปัญหาจากตัววเองไป เดิมทีก่อนมีเทคนิคนี้ ผู้หญิงที่มีการกลายพันธุ์ของไมโทคอนเดรียสามารถหลีกเลี่ยงการส่งต่อความผิดปกติได้โดยการรับเลี้ยงบุตรบุญธรรมหรือทำเด็กหลอดแก้วด้วยไข่ของผู้หญิงอื่น
สหราชอาณาจักรไม่ใช่ประเทศแรกที่กำเนิดทารกจากเทคนิค MDT ในปี 2016 แพทย์สหรัฐฯ ประกาศความสำเร็จของการให้กำเนิดทารกด้วยวิธีการ MDT ครั้งแรกของโลก ในหญิงชาวจอร์แดนที่มีการกลายพันธุ์ของไมโทคอนเดรียซึ่งทำให้เกิดโรคร้ายแรงที่เรียกว่า โรคลีห์ (Leigh Syndrome) ซึ่งทำให้ระบบประสาทผิดปกติ
ก่อนเข้ารับการทำเด็กหลอดแก้ว MDT หญิงจอร์แดนรายนี้เคยแท้งลูก 4 คนและคลอดลูกสำเร็จ 2 คน แต่คนหนึ่งเสียชีวิตเมื่ออายุได้ 6 ขวบ อีกคนมีชีวิตอยู่ได้เพียง 8 เดือน
เรียบเรียงจาก The Guardian
ภาพจาก Getty Image