ภายหลังข่าวสามมิติ ออกคลิปเสียงประชุมผู้ถือหุ้น ITV แล้วเสียงในที่ประชุมกับเอกสาร กลับถูกบันทึกไม่ตรงกัน จึงทำให้เกิดข้อถกเถียงกันต่างๆ นานา ว่าประชาชนอย่างเราจะเชื่ออะไรดี ระหว่างคลิปหรือเอกสารที่บันทึกการประชุม
เรื่องนี้ นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม อัยการอาวุโสสำนักงานการสอบสวน สำนักงานอัยการสูงสุด ระบุถึงข้อถกเถียงดังกล่าว ว่าจะเชื่อคลิปหรือเอกสารบันทึกการประชุมนั้น จุดนี้ระหว่างคลิปเสียงกับเอกสารที่เป็นกระดาษ
กกต.โต้ข่าวปลอม! รับรอง ส.ส.เขต 100 คน เป็นความเท็จ
ศาล รธน.สั่งส่งหลักฐานเพิ่ม คดี “ศักดิ์สยาม-หจก.บุรีเจริญ”
ถ้าอ้างอิงตามกระทรวงดิจิทัลฯ กำหนด หากเป็นการประชุมผ่านระบบออนไลน์ หรือ ซูม จะยึดหลักฐานจากเสียงเป็นหลัก ที่จะให้น้ำหนักมากกว่าเอกสาร
"ผู้ที่เป็นประธานในที่ประชุมพูดคลิปเสียง กับที่ตอบไม่ตรงกัน อันนี้ไม่รู้ เพราะตรงนี้ปกติมันต้องตรงกัน โดยเฉพาะการประชุมระบบผ่านซูม มันจะใช้การบันทึกเสียงเป็นหลัก ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีเขากำหนด วิธีการต้องชัด คือ ถ้ากระดาษกะเสียง เสียงเป็นหลัก เพราะประชุมระบบซูม ไม่เหมือนกับประชุมแบบปกติ ประชุมแบบปกติกระดาษสำคัญกว่า แต่ถ้าในการประชุมนั้นบันทึกเสียง ต้องเทียบจากเสียง นี่คือหลักการทั่วไป"
นายปรเมศวร์ ยังลองยกตัวอย่างด้วยว่า เอาเสียงในการประชุมเป็นหลัก แล้วเอกสารเป็นเท็จ ตรงนี้น่าสนใจ ว่าใครเป็นคนทำ จึงต้องไปสอบเรื่องเหล่านี้ว่าใครเป็นคำบันทึกการประชุม แน่นอนว่า เผือกร้อนนี้จะต้องตกไปที่คนที่จดบันทึกการประชุม และคนที่เซ็นต์ในเอกสาร ต่อมาคือ คนที่นำไปใช้ หากรู้อยู่แล้ว ว่าเป็นเท็จแล้วนำไปใช้คนนั้น ก็ถือว่า เข้าข่ายการใช้เอกสารปลอมคำพูดจาก เว็บตรง
PPTV ได้หาข้อมูลเพิ่มเติม สำหรับโทษการปลอมแปลงบันทึกการประชุม ถือมีความผิดตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชน มาตรา 94 รายงานการประชุมผู้ถือหุ้นหรือรายงานการประชุมคณะกรรมการอันเป็นเท็จ และมาตรา 216 ความรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทใด กระทำหรือยินยอมให้มีการลงข้อความเท็จ ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
แล้วยังเจอ มาตรา 143 ของ พรป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ระบุว่า การกระทำอันเป็นเท็จ เพื่อกลั่นแกล้งเพื่อให้คนสมัครถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง หรือถูกเพิกถอนสิทธิสมัคร สส. มีโทษจำคุก 5-10 ปี ปรับ 100,000 ถึง 200,000 บาท และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 20 ปี หากเป็นการแจ้งความเท็จต่อคณะกรรมการ มีโทษจำคุก 7-10 ปี ปรับ 140,000 ถึง 200,000 บาท และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 20 ปี
ทั้งนี้ หากการกระทำข้างต้น เป็นการกระทำหรือสนับสนุน หรือรู้เห็นเป็นใจจากถ้าหัวหน้าพรรคหรือกรรมการบริหารพรรค ถือว่าเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร และผิดกฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
นายปรเมศวร์ ยังบอกอีกว่า ในอดีตก็มีหลายกรณีที่มีเรื่องลักษณะแบบนี้ ส่วนใหญ่เป็นบริษัทมหาชน ที่ใช้การปลอมแปลงเอกสาร ใส่ร้าย เพื่อหาผลประโยชน์ เพราะเป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย หากคนตรวจสอบไม่ได้สนใจ หรือมานั่งจับผิด อย่างกรณีนี้ หากเป็นหลักฐานจริง ถือว่าการทำงานของสื่อมวลชนปัจจุบัน มีผลมากต่อการช่วยเปิดโปงความจริงของขบวนการทุจริต